ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2559

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2559

สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น (TNI) ได้ดำเนินการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2559 เมื่อวันที่ 14 – 15  กันยายน 2560 โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรานี   พรรณวิเชียร คณะกรรมการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นประธานคณะกรรมการประเมินคุณภาพ  ผศ.นงลักษณ์ งามเจริญ  ผู้ทรงคุณวุฒิ อดีตคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มงคล  หวังสถิตย์วงษ์   อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัญชลี  สุพิทักษ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกษม ทิพย์ธาราจันทร์  และอาจารย์สุชีรา นวลทอง อาจารย์ประจำสถาบันเทคโนโลยีไทย – ญี่ปุ่น เป็นกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษา

S__26394643

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2559 เป็นดังนี้

-      ระดับหลักสูตรผ่านมาตรฐานทุกหลักสูตร มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.48  อยู่ในระดับดี

-      ระดับคณะมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.92  อยู่ในระดับดี

-      ระดับสถาบัน  ได้คะแนนเฉลี่ย  5  องค์ประกอบ  4.04  ผลการประเมินอยู่ในระดับดี

โดยมีจุดเด่นคือ

1. ผู้บริหารระดับสูงให้ความสำคัญกับการประกันคุณภาพเป็นอันดับแรกของการบริหารงาน ทำให้ทุกภาคส่วนของสถาบัน ทั้งระดับ หลักสูตร คณะ สถาบัน รวมทั้งบุคลากรสายสนับสนุน ทำให้เกิดการดำเนินการด้านประกันคุณภาพอย่างจริงจัง ส่งผลให้สถาบันที่มีการดำเนินงานมาเป็นระยะเวลาเพียง 10 ปี สามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ เทียบเคียงได้กับมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับของประเทศที่มีการจัดการศึกษามายาวนาน การบริหารจัดการที่เน้นวัฒนธรรมด้วยวิถีไทย-ญี่ปุ่น โดยนำหลักโมโนซุคุริ มาเป็นแนวปฎิบัติ ส่งผลสะท้อนให้นักศึกษาได้มีการฝึกปฎิบัติในระหว่างเรียน โดยรู้จักการคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา ตัดสินใจอย่างเป็นระบบ นอกจากนั้น สถาบันยังนำแนวทางพัฒนา 5 ส และไคเซน มาเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตและปฏิบัติงานของนักศึกษา บุคลากร รวมทั้งมีการศึกษาด้านภาษาญี่ปุ่น และภาษาอังกฤษ ควบคู่ไปด้วย ส่งผลให้เป็นการเตรียมบัณฑิตเพื่อตอบสนองความต้องการอุตสาหกรรม ธุรกิจ ด้วยวิถีไทย-ญี่ปุ่น นักศึกษาสามารถประกวดแข่งขันด้านความเป็นเลิศทางวิชาการที่จัดโดยหน่วยงานภายนอกได้รับรางวัลจำนวนมาก ทำให้ความต้องการของตลาดแรงงาน ที่มีต่อสถาบันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและเป็นที่ยอมรับ

2. การบริหารจัดการที่เน้นวัฒนธรรมด้วยวิถีไทย-ญี่ปุ่น โดยนำหลักโมโนซุคุริ มาเป็นแนวปฎิบัติ ส่งผลสะท้อนให้นักศึกษาได้มีการฝึกปฎิบัติในระหว่างเรียน โดยรู้จักการคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา ตัดสินใจอย่างเป็นระบบ นอกจากนั้น สถาบันยังนำแนวทางพัฒนา 5 ส และไคเซน มาเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตและปฏิบัติงานของนักศึกษา บุคลากร รวมทั้งมีการศึกษาด้านภาษาญี่ปุ่น และภาษาอังกฤษ ควบคู่ไปด้วย ส่งผลให้เป็นการเตรียมบัณฑิตเพื่อตอบสนองความต้องการอุตสาหกรรม ธุรกิจ ด้วยวิถีไทย-ญี่ปุ่น นักศึกษาสามารถประกวดแข่งขันด้านความเป็นเลิศทางวิชาการที่จัดโดยหน่วยงานภายนอกได้รับรางวัลจำนวนมาก ทำให้ความต้องการของตลาดแรงงาน ที่มีต่อสถาบันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและเป็นที่ยอมรับ

20612064