Home
สถาบันได้ดำเนินการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2560 เมื่อวันที่ 13 – 14 กันยายน 2560 โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปรานี พรรณวิเชียร คณะกรรมการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นประธานคณะกรรมการประเมินคุณภาพ และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก 2 ท่าน คือ รองศาสตราจารย์ ดร.สมสรรญก์ วงษ์อยู่น้อย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มงคล หวังสถิตย์วงษ์ เป็นกรรมการประเมิณคุณภาพการศึกษา ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2560 เป็นดังนี้ ระดับหลักสูตรผ่านมาตรฐานทุกหลักสูตร มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.53 ผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับดี ระดับคณะมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.21 ผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับดี และระดับสถาบัน ได้คะแนนเฉลี่ย 5 องค์ประกอบ 4.05 ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดี
โดยมีจุดเด่นคือ
1.สถาบันมีนโยบายในการกำกับการดำเนินงานที่ชัดเจนเป็นระบบ บุคลากรทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมและเห็นความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา จึงส่งผลให้เกิดวัฒนธรรมคุณภาพในสถาบันอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำ KM-HR-HoP ที่กำหนดเป็นเอกลักษณ์ของสถาบันอย่างเหมาะสม และสร้างความกลมกลืนในการเป็นสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ได้เป็นอย่างดี
2. สถาบันมีเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานภายนอก โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจจากประเทศญี่ปุ่น จึงส่งผลให้สถาบันสามารถนำศักยภาพของบุคลากรไปเผยแพร่ สร้างองค์ความรู้ และประโยชน์ให้กับหน่วยงานภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นที่ยอมรับระดับชาติ
สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น (TNI) ได้ดำเนินการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2559 เมื่อวันที่ 14 – 15 กันยายน 2560 โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรานี พรรณวิเชียร คณะกรรมการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นประธานคณะกรรมการประเมินคุณภาพ ผศ.นงลักษณ์ งามเจริญ ผู้ทรงคุณวุฒิ อดีตคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มงคล หวังสถิตย์วงษ์ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัญชลี สุพิทักษ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกษม ทิพย์ธาราจันทร์ และอาจารย์สุชีรา นวลทอง อาจารย์ประจำสถาบันเทคโนโลยีไทย – ญี่ปุ่น เป็นกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษา
ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2559 เป็นดังนี้
- ระดับหลักสูตรผ่านมาตรฐานทุกหลักสูตร มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.48 อยู่ในระดับดี
- ระดับคณะมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.92 อยู่ในระดับดี
- ระดับสถาบัน ได้คะแนนเฉลี่ย 5 องค์ประกอบ 4.04 ผลการประเมินอยู่ในระดับดี
โดยมีจุดเด่นคือ
1. ผู้บริหารระดับสูงให้ความสำคัญกับการประกันคุณภาพเป็นอันดับแรกของการบริหารงาน ทำให้ทุกภาคส่วนของสถาบัน ทั้งระดับ หลักสูตร คณะ สถาบัน รวมทั้งบุคลากรสายสนับสนุน ทำให้เกิดการดำเนินการด้านประกันคุณภาพอย่างจริงจัง ส่งผลให้สถาบันที่มีการดำเนินงานมาเป็นระยะเวลาเพียง 10 ปี สามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ เทียบเคียงได้กับมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับของประเทศที่มีการจัดการศึกษามายาวนาน การบริหารจัดการที่เน้นวัฒนธรรมด้วยวิถีไทย-ญี่ปุ่น โดยนำหลักโมโนซุคุริ มาเป็นแนวปฎิบัติ ส่งผลสะท้อนให้นักศึกษาได้มีการฝึกปฎิบัติในระหว่างเรียน โดยรู้จักการคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา ตัดสินใจอย่างเป็นระบบ นอกจากนั้น สถาบันยังนำแนวทางพัฒนา 5 ส และไคเซน มาเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตและปฏิบัติงานของนักศึกษา บุคลากร รวมทั้งมีการศึกษาด้านภาษาญี่ปุ่น และภาษาอังกฤษ ควบคู่ไปด้วย ส่งผลให้เป็นการเตรียมบัณฑิตเพื่อตอบสนองความต้องการอุตสาหกรรม ธุรกิจ ด้วยวิถีไทย-ญี่ปุ่น นักศึกษาสามารถประกวดแข่งขันด้านความเป็นเลิศทางวิชาการที่จัดโดยหน่วยงานภายนอกได้รับรางวัลจำนวนมาก ทำให้ความต้องการของตลาดแรงงาน ที่มีต่อสถาบันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและเป็นที่ยอมรับ
2. การบริหารจัดการที่เน้นวัฒนธรรมด้วยวิถีไทย-ญี่ปุ่น โดยนำหลักโมโนซุคุริ มาเป็นแนวปฎิบัติ ส่งผลสะท้อนให้นักศึกษาได้มีการฝึกปฎิบัติในระหว่างเรียน โดยรู้จักการคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา ตัดสินใจอย่างเป็นระบบ นอกจากนั้น สถาบันยังนำแนวทางพัฒนา 5 ส และไคเซน มาเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตและปฏิบัติงานของนักศึกษา บุคลากร รวมทั้งมีการศึกษาด้านภาษาญี่ปุ่น และภาษาอังกฤษ ควบคู่ไปด้วย ส่งผลให้เป็นการเตรียมบัณฑิตเพื่อตอบสนองความต้องการอุตสาหกรรม ธุรกิจ ด้วยวิถีไทย-ญี่ปุ่น นักศึกษาสามารถประกวดแข่งขันด้านความเป็นเลิศทางวิชาการที่จัดโดยหน่วยงานภายนอกได้รับรางวัลจำนวนมาก ทำให้ความต้องการของตลาดแรงงาน ที่มีต่อสถาบันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและเป็นที่ยอมรับ
สถาบันได้ดำเนินการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2557 เมื่อวันที่ 14 – 15 กันยายน 2558 โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปรานี พรรณวิเชียร คณะกรรมการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นประธานคณะกรรมการประเมินคุณภาพ ดร.มานิต บุญประเสริฐ อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มงคล หวังสถิตย์วงษ์ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษา ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2557เป็นดังนี้ ระดับหลักสูตรผ่านมาตรฐานทุกหลักสูตร มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.26 ผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับดี ระดับคณะมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.08 ผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับดี และระดับสถาบันได้คะแนนเฉลี่ย 5 องค์ประกอบ 3.83 ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดี โดยมีจุดเด่นคือ
1. ผู้บริหารระดับสูงมีนโยบายให้ความสำคัญกับการประกันคุณภาพ มีการพัฒนาการดำเนินการตามพันธกิจ 4 ด้านอย่างเป็นระบบ ผลงานที่พัฒนาเห็นได้ชัดเจน คือ ผลงานด้านงานวิจัย และกระบวนการจัดการเรียน
การสอน ทำให้สถาบันได้รับการยอมรับอย่างสูงจากสถานประกอบการ และหน่วยงานภายนอก โดยเฉพาะ
อย่างยิ่ง องค์กรที่เกี่ยวข้องกับประเทศญี่ปุ่นในประเทศไทย
2. บุคลากรให้ความสำคัญกับระบบการประกันคุณภาพการศึกษา มีการสร้างความเข้าใจและดำเนินการ
อย่างเป็นรูปธรรม ส่งผลให้การพัฒนางานด้านประกันคุณภาพในปีแรกตามเกณฑ์ใหม่มีผลการดำเนินงานระดับดี สามารถดำเนินการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของกรรมการประเมินคุณภาพในปีที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่อง
3. ผู้บริหารระดับสูงมีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความมุ่งมั่น และให้ความสำคัญต่อการพัฒนาสถาบันจึงทำให้การบริหารจัดการภายในเป็นระบบ มีกระบวนการปฏิบัติงานที่ชัดเจน จึงทำให้บุคลากรโดยส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน ส่งผลให้กิจกรรมหลักหลายๆกิจกรรมบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคแบบ Monodzukuri ได้มีความเข้มข้นยิ่งขึ้น โดยมีห้องปฏิบัติการด้าน Monodzukuri ที่ให้นักศึกษาเห็นภาพและได้ปฏิบัติจริง มีส่วนสนับสนุนให้นักศึกษาได้พัฒนาอย่างรวดเร็วและตอบโจทย์ของธุรกิจอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจอุตสาหกรรมจากเครือข่ายประเทศญี่ปุ่น
เมื่อวันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2558 สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้จัดการประชุม เรื่อง “แนวทางในการนำเกณฑ์คุณภาพการศึ
ด้วย สกอ. ร่วมกับสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร. สุวรรณภูมิ ได้จัดทำวิดีโอบันทึกการอบรมการใช้งาน ระบบ CHE3D สำหรับท่านผู้ใช้งานระบบ CHEQAOnline ทุกท่าน
โดยได้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 13 ตอน ตามหัวข้อในการอบรมนะครับ ซึ่งสามารถเลือกชมได้ตามหัวข้อที่ท่านสนใจ หรือนำไปขยายผลให้ความรู้การใช้งานภายในมหาวิทยาลัยสำหรับท่านที่ยังไม่ได้เข้าร่วมอบรมได้ครับ
Ref: https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=10153557788375709&id=401078065708
เมื่อวันที่ 12-13 มิถุนายน 2558 ที่ผ่านมา ได้มีการจัดโครงการอบรมผู้ประเมินระดับหลักสูตร โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรานี พรรณวิเชียร, รองศาสตราจารย์ ดร.อุษาพร เสวกวิ และรองศาสตราจารย์ อุษณีย์ คำประกอบ มาเป็นวิทยากร ในการบรรยายให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการประเมินจากกรณีศึกษา โดยในครั้งนี้ ทำให้สถาบันฯ มีผู้ประเมินในระดับหลักสูตร รวมทั้งสิ้น 28 คน
เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2558 ได้มีการประชุมคณะกรรมการเครือข่ายความร่วมมือการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษา โดยได้รับเกียรติจากคณะกรรมการเครือข่ายจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต และสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานในปี 2557 และวางแผนการดำเนินงานความร่วมมือในปีการศึกษา 2558 ต่อไป (more…)
เอกสารประกอบการพิจารณา ::
1. ปริญญาบัตร/ประกาศนียบัตร ของคุณวุฒิที่จะขอให้พิจารณา ฉบับจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด*
2. ใบบันทึกผลการศึกษา (Transcript) ของคุณวุฒิที่จะขอให้พิจารณา ฉบับจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด*
3. ปริญญาบัตร/ประกาศนียบัตร ของคุณวุฒิที่สำเร็จการศึกษาก่อนคุณวุฒิที่ขอให้พิจารณา ฉบับจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด*
4. ใบบันทึกผลการศึกษา (Transcript) ของคุณวุฒิที่สำเร็จการศึกษาก่อนคุณวุฒิที่ขอให้พิจารณา ฉบับจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด*
5. บัตรประจำตัวประชาชน/บัตรข้าราชการ ฉบับจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด*
6. ทะเบียนบ้าน ฉบับจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด*
7. หนังสือเดินทาง (Passport) ฉบับจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด*
- เอกสารหน้าแรกของหนังสือเดินทาง
- เอกสารหน้าที่มีการประทับตราตรวจคน เข้า-ออก เมือง และ VISA ของประเทศที่เดินทางไปศึกษา
8. กรณีขอเทียบคุณวุฒิฯ ระดับปริญญาเอก มีเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
- วิทยานิพนธ์ (หน้าชื่อเรื่องและบทคัดย่อ) พร้อมสำเนา 1 ชุด
- ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของผลงานวิทยานิพนธ์ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ พร้อมสำเนา 1 ชุด
9. เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)
- สำเนาการเปลี่ยน ชื่อ-นามสกุล
- สำเนาใบสำคัญการสมรส-การหย่า
หมายเหต ุ* :
1. กรณีใบปริญญาบัตรและใบบันทึกผลการศึกษา(Transcript) ที่มิใช่ภาษาสากล (English) ขอให้ดำเนินการแปลเอกสารดังกล่าวมาเป็นภาษาอังกฤษ พร้อมประทับตรารับรองการแปลเอกสารจากหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานที่เชื่อถือได้ อาทิ สถานกงสุลในประเทศนั้นๆ และถ้าได้รับรองความถูกต้องจากกองสัญชาติและนิติการกระทรวงต่างประเทศ
2. ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องในเอกสารทุกฉบับ พร้อมทั้งจัดเรียงเอกสารโดยแยกเอกสารฉบับจริง และ สำเนาคนละชุดกัน
3. กรณีมอบหมายให้บุคคลอื่นมาทำการแทน จะต้องมีหนังสือมอบอำนาจและติดอากรแสตมป์ 10 บาท และแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการแทน
4. กรณีเทียบคุณวุฒิฯ ระดับปริญญาเอก ขอให้ยื่นเอกสารคุณวุฒิการศึกษาทั้งระดับปริญญาโทและปริญญาตรีด้วย
5. กรณีหนังสือเดินทางช่วงปีที่ศึกษา ณ ประเทศนั้นๆ สูญหาย ขอให้ท่านแสดงเอกสารหลักฐานการพำนักหรือเดินทางเข้า-ออก ณ ประเทศนั้นๆ ตลอดระยะเวลาที่ศึกษาในคุณวุฒิที่ขอให้พิจารณา
ทั้งนี้ สามารถติดต่อขอรับเอกสารหลักฐานดังกล่าวได้ที่สถานฑูตของประเทศที่เดินทางไปศึกษา ประจำประเทศไทย หรือที่ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซอยสวนพลู แขวงทุ่งมหาเมฆ กทม.
6. ในกรณีที่เจ้าหน้าที่สำนักงานฯ ขอให้แสดงเอกสารเพิ่มเติม จะต้องยื่นเอกสารเพิ่มเติมภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้ง หากพ้นกำหนด สำนักงานฯ จะถือว่าท่านไม่ประสงค์จะให้พิจารณาคุณวุฒิ
7. ขอความอนุเคราะห์จัดทำสำเนาเอกสารประกอบการยื่นขอให้พิจารณาเทียบคุณวุฒิฯ มาให้เรียบร้อย
ดาวน์โหลดเอกสาร::
1. คำร้องขอเทียบวุฒิ (สำหรับบุคคลทั่วไป)
2. หนังสือมอบอำนาจ
3. Equivalent Qualification Application Form (ฉบับภาษาอังกฤษ สำหรับบุคคลทั่วไป)
4. ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการพิจารณาคุณวุฒิผู้สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาจากต่างประเทศ พ.ศ.2549
ข้อมูลจาก : สำนักมาตรฐานและคุณภาพอุดมศึกษา