Home

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพการศึกษาภายในของ สกอ. ปีการศึกษา 2557″

เมื่อวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมา ได้มีการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพการศึกษาภายในของ สกอ. ปีการศึกษา 2557″ โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรานี พรรณวิเชียร มาเป็นวิทยากรให้ความรู้กับบุคลากรภายในสถาบัน เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรทุกระดับมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557 และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาในหน่วยงานของตนเองได้

มาตรฐานการจัดจำแนกการศึกษา: สาขาวิชา (ISCED) International Standard Classification of Education

เอกสารอ้างอิง
International Standard Classification of Education (ISCED) จัดทำโดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)

 

วัตถุประสงค์
1997 ได้จัดจำแนกการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายขึ้นไปออกเป็นกลุ่มสาขาวิชา 8 กลุ่ม (แสดงไว้ในโครงสร้าง) โดยที่แต่ละกลุ่มสาขาวิชาได้จัดจำแนกรายละเอียดเป็นรายสาขาวิชาต่างๆ ไว้ด้วย เพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสาขาวิชาของผู้ที่กำลังศึกษาและผู้ ที่สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นต้นไป ซึ่งจะทำให้ข้อมูลด้านการศึกษามีรายละเอียดครบถ้วนสมบูรณ์ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางยิ่งขึ้น เช่น ทำให้สามารถทราบว่าการศึกษาในสาขาวิชาใดบ้างที่เป็นที่สนใจและมีผู้เข้ารับ การศึกษามากและสาขาวิชาใดบ้างที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน หรือสาขาวิชาใดบ้างที่มีผู้สำเร็จการศึกษามากกว่า/น้อยกว่าความต้องการของ ตลาดแรงงาน ซึ่งจะทำให้สามารถนำไปใช้ในการวางแผนการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของ ตลาดแรงงานของประเทศ

 

ข้อมูลจาก กลุ่มมาตรฐานสถิติ สำนักบริหารจัดการระบบสถิติ
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

 

International Standard Classification of Education (ISCED 2011)
International Standard Classification of Education (ISCED 2013) icon-new

การศึกษาดูงานระบบจัดทำรายงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (KU-TQF) ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2557

เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2557 อาจารย์ณรงค์ อนันควานิช ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ดร.ธงชัย แก้วกิริยา หัวหน้าศูนย์สารสนเทศและการสื่อสาร อาจารย์ฐนสิน ญาติสูงเนิน อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และบุคลากรฝ่ายวิชาการ ศูนย์สารสนเทศและการสื่อสาร และฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ศึกษาดูงานระบบจัดทำรายงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (KU-TQF) ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการจัดทำระบบเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพการศึกษา โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ลิลลี่ กาวีต๊ะ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ผศ.ดร.จิตร์ทัศน์ ฝักเจริญผล อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นวิทยากรให้ความรู้

IMG_3849  IMG_3795   IMG_3784

IMG_3837  IMG_3840   IMG_3842

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2556

สถาบันได้ดำเนินการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2554

เมื่อวันที่ 17 – 19 กันยายน 2557

qa56 004qa56 0201qa56 025

โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรานี  พรรณวิเชียร คณะกรรมการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ดร.มานิต  บุญประเสริฐ  ผู้อำนวยการหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ รศ.ดร. บุญวัฒน์  อัตชู อดีตรองอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังศาสตราจารย์ ดร.ประยุทธ อัครเอกฒาลิน คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินทร ไทย-เยอรมัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือเป็นคณะกรรมการ

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในประจำปีการศึกษา 2556 ได้คะแนนเฉลี่ย  9  องค์ประกอบ เท่ากับ 4.44 ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดี โดยมีจุดเด่นคือ

1. สถาบันมีการดำเนินการด้านกิจกรรมนักศึกษาในภารกิจต่างๆครบถ้วน มีผลงานวิจัยในภาพรวม ดีมาก มีการพัฒนางานวิจัย ทั้งงานวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่ การใช้ประโยชน์และผลงานทางวิชาการได้เป็นอย่างดี มีการบริการทางวิชาการแก่สังคมอย่างดีตรงกับความต้องการของผู้รับบริการ มีการบูรณาการด้านการเรียนการสอนกับศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งมีการบริหารการเงินอย่างเข้มแข็ง แสดงถึงการพัฒนาของสถาบันที่พัฒนาภารกิจหลักและกิจกรรมสำคัญได้อย่างรวดเร็ว

2. มาตรฐานด้านศักยภาพและความพร้อมในการจัดการศึกษา สิ่งที่สถาบันดำเนินการได้ดี คือ การสร้างสภาพแวดล้อม เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการจัดการเรียนการสอน และการบริหารการเงินและงบประมาณที่สถาบันมีระบบการดำเนินการที่ดีมาก มีการกำกับติดตามผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

3. มาตรฐานการดำเนินงานตามภารกิจอุดมศึกษาทั้ง 4 ด้าน สถาบันดำเนินงานได้ดีมากในทุกภารกิจ แสดงถึงความใส่ใจ ในการดำเนินงาน ผู้บริหารทำหน้าที่กำกับดูแลทุกอย่างได้อย่างดี และทำให้ภารกิจทั้ง 4 ด้าน เป็นไปอย่างมีศักยภาพ และทำให้ภารกิจหลักของสถาบันบรรลุตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

4. การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคแบบ Monozukuri ได้มีความเข้มข้นยิ่งขึ้น โดยมีห้องปฏิบัติการด้าน Monozukuri  ที่ให้นักศึกษาเห็นภาพและได้ปฏิบัติจริง มีส่วนสนับสนุนให้นักศึกษาได้พัฒนาอย่างรวดเร็วและตอบโจทย์ของธุรกิจอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจอุตสาหกรรมจากเครือข่ายประเทศญี่ปุ่น

แผนพัฒนาตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมิน ปีการศึกษา 2559

ขอให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าไปกรอกผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะฯ

ระดับสถาบัน

ระดับคณะวิชา 

1. คณะวิศวกรรมศาสตร์

2. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

3. คณะบริหารธุรกิจ

4. สำนักวิชาพื้นฐานและภาษา

ระดับหลักสูตร

คณะวิศวกรรมศาสตร์
1. หลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์ (AE)
2.หลักสูตรวิศวกรรมการผลิต (PE)
3. หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (CE)
4. หลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการ (IE)
5. หลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้า (EE)
6. หลักสูตรเทคโนโลยีวิศวกรรม (MET)

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) หลักสูตรปริญญาตรี
2. หลักสูตรเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (MT)
3. หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ (BI)
4. หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) หลักสูตรปริญญาโท

คณะบริหารธุรกิจ
1. หลักสูตรการจัดการอุตสาหกรรม (IM) หลักสูตรปริญญาตรี
2. หลักสูตรบริหารธุรกิจญี่ปุ่น (BJ) หลักสูตรปริญญาตรี
3. หลักสูตรการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ (IB)
4. หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (AC)
5. หลักสูตรการจัดการทรัพยากรมนุษย์แบบญี่ปุ่น (HR)
6. หลักสูตรการจัดการอุตสาหกรรม (MIM) หลักสูตรปริญญาโท
7. สาขาวิชาการวางแผนและการจัดการเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้ประกอบการ (SME)  หลักสูตรปริญญาโท
8. หลักสูตรบริหารธุรกิจญี่ปุ่น (MBJ) หลักสูตรปริญญาโท

หมายเหตุ: กรุณาเข้าระบบ email account ของสถาบันฯ ก่อนจะเปิดเอกสาร

สถาบันเทคโนโลยีไทย – ญี่ปุ่น ผ่านการรับรองมาตรฐานการศึกษา จาก สมศ.

เมื่อวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2557 สถาบันเทคโนโลยีไทย – ญี่ปุ่น ได้รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก และผ่านการรับรองมาตรฐานการศึกษา รอบสาม จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน)ในระดับ สถาบันฯ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และคณะบริหารธุรกิจ

TNI - certificate 2554-2558

สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) โดย นายวีระชัย ศรีขจร ผู้อำนวยการ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น โดย  รศ.กฤษดา วิศวธีรานนท์ อธิการบดี เมื่อวันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน 2557 เวลา 10.00-11.30 น. ณ ห้องประชุมสภา A509 ชั้น 5 ตึก A สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

DSCF5615 DSCF5621(1)

 

3 อธิการบดี ร่วม MOU การพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษา

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเครือข่ายการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษา

ระหว่าง ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหงดร.วัลลภ สุวรรณดี อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต และ รศ.กฤษดา วิศวธีรานนท์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีไทย – ญี่ปุ่น ในความร่วมมือด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา และความร่วมมือด้านการให้ความรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2557 ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยรามคำแหง

MOU 26 Mar 2014

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในปีการศึกษา 2555

สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ได้รับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน
ประจำปีการศึกษา 2555 เมื่อวันที่ 18-20 กันยายน 2556
โดยได้คะแนนเฉลี่ย 4.53 อยู่ในระดับดีมาก 

“ผลการประเมินในภาพรวม พบว่า สถาบันฯมีการบริหารจัดการตามระบบกลไกคุณภาพ
มุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนตามหลัก Monozukuri เน้นให้นักศึกษาเรียนรู้จากการ
ปฏิบัติงานจริง ควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพในการสื่อสารภาษาต่างประเทศ
ทั้งภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ สถาบันยังสนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วม
โครงการแลกเปลี่ยนกับต่างประเทศ เพื่อฝึกประสบการณ์นอกห้องเรียน
ส่งผลให้บัณฑิตที่จบการศึกษามีความสามารถและคุณลักษณะเป็นที่ต้องการ
ของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม”

resize IMG_1377